วันจันทร์ที่ 12 กรกฎาคม พ.ศ. 2553

บทเรียนวิชาอุตสาหกรรมการท่องเที่ยว

บทที่ 1 ความหมายความสำคัญของการท่องเที่ยว

"การท่องเที่ยว" เป็นคำที่หาความหมายที่ตรงตัวได้ยาก กิจกรรมการเดินทางนั้นมีมาตั้งแต่สมัยโบราณ เช่น การทำสงคราม การแสวงหาสินค้า การแสวงหาดินแดนใหม่ หรือเพื่อนมัสการสิ่งศักดิ์สิทธิ์ ในปัจจุบันการท่องเที่ยวเป็นอุตสาหกรรมที่สร้างรายได้ให้กับประเทศมาก และยังเป็นอุตสาหกรรมที่มีขนาดใหญ่ที่สุดในโลก แต่ก็มีการจัดว่าการท่องเที่ยวต้องมีลักษณะดังนี้
1.การเดินทางจากที่อยู่อาศัยปกติไปยังที่อื่นเป็นการชั่วคราว
2.การเดินทางไปด้วยความสมัครใจ
3.การเดินทางด้วยวัตถุประสงค์อื่นๆ แต่ไม่ใช่เพื่อการประกอบอาชีพและการหารายได้


การเดินทางที่จัดเป็นการท่องเที่ยว
- เดินทางไปพักฟื้น ไปรักษาตัวในสภานที่ต่างๆ
- การเดินทางไปประชุม
- การเดินทางไปชมการแข่งขันกีฬาที่ต่างประเทศ
- การเดินทางไปจาริกแสวงบุญ


การเดินทางที่ไม่จัดเป็นการท่องเที่ยว
- การเดินทางไปตั้งถิ่นฐานถาวรในต่างประเทศ
- การเดินทางไปประกอบอาชีพ
- การเดินทางโดยไม่เต็มใจ หรือถูกบังคับ


นักท่องเที่ยว (Tourist)
นักท่องเที่ยว คือผู้ที่เข้ามาท่องเที่ยว พักอาศัย มาเยือน เป็นการชั่วคราว และมาอย่างน้อย 24 ชั่วโมง โดยจุดประสงค์เพื่อใช้เวลาว่าง ท่องเที่ยว และกิจกรรมนันทนาการ

นักทัศนาจร (Excursionist)
นักทัศนาจร คือผู้ที่มาเที่ยวเป็นการชั่วคราว และพักอาศัยอยู่ ณ สถานที่นั้นไม่เกิน 24 ชั่วโมง รวมถึงผู้เดินทางโดยเรือสำราญ

กลุ่มนักท่องเที่ยว
- ผู้ที่ไม่มีถิ่นฐาน หรืออยู่อาศัยในสถานที่ที่ไปเยือน
- ผู้ที่มีสัญชาติของประเทศนั้น หรือเป็นคนถิ่นเดิม แต่ไม่ได้อยู่ในสถานที่นั้นแล้ว
- ผู้ที่เป็นลูกเรือ ไม่มีถิ่นพำนัก และพัก ณ สถานที่นั้น มากกว่า 24 ชั่วโมง


กลุ่มนักทัศนาจร
- ผู้โดยสารเรือสำราญหรือเรือเดินสมุทร
- ผู้ที่มาเยือนและจากไป ภายในวันเดียว


ผู้มาเยือนตามถิ่นพำนัก
1.ผู้มาเยือนขาเข้า (Inbound Visitor)
คือ ผู้มาเยือนที่อยู่ในต่างประเทศ และเข้ามาท่องเที่ยวอีกประเทศหนึ่ง

2.ผู้มาเยือนขาออก (Outbound Visitor)
คือ ผู้มาเยือนที่มีถิ่นพำนักในประเทศหนึ่งและเดินทางไปอีกประเทศหนึ่ง

3.ผู้มาเยือนภายในประเทศ (Domestic Visitor)
คือ ผู้มาเยือนที่เดินทางท่องเที่ยวภายในประเทศที่ตนเองมีถิ่นพำนักอยู่ อาจเรียกว่า ผู้มาเยือนขาเข้า หรือผู้มาเยือนภายในประเทศก็ได้

วัตถุประสงค์ของการเดินทางท่องเที่ยว
1.เพื่อความสนุกสนาน เพลิดเพลิน และพักผ่อน (Holiday)
2.เพื่อธุรกิจ (Business)
3.เพื่อวัตถุประสงค์อื่นๆ


ประเภทการท่องเที่ยว แบ่งออกเป็น 3 วิธี การแบ่งตามสากล ได้แก่
1.การท่องเที่ยวภายในประเทศ (Domestic Tourism)
หมายถึง ผู้ที่อาศัยภายในประเทศนั้น เดินทางภายในประเทศของตนเอง
2.การท่องเที่ยวเข้ามาในประเทศ (Inbound Tourism)
หมายถึง ผู้ที่มีถิ่นอาศัยอยู่ที่ประเทศอื่นแล้วเดินทางเข้ามาเที่ยวในประเทศนั้นๆ
3.การท่องเที่ยวนอกประเทศ (Outbound Tourism)
หมายถึง ผู้ที่มีถิ่นอาศัยในประเทศหนึ่งแล้วเดินทางไปยังต่างประเทศ



การแบ่งตามวัตถุประสงค์ของการเดินทาง
1.การท่องเที่ยวเพื่อความเพลิดเพลินและพักผ่อน
2.การท่องเที่ยวเพื่อธุรกิจ
3.การท่องเที่ยวเพื่อวัตถุประสงค์พิเศษ

องค์ประกอบของอุตสาหกรรมการท่องเที่ยว
กิจกรรม สำหรับการท่องเที่ยวอาจมีมากมาย ไม่ว่าจะเป็นการแสวงหาแหล่งท่องเที่ยว การซื้อของ การประชุม บางอย่างเป็นธุรกิจ ที่ตอบสนองความต้องการโดยตรงของนักท่องเที่ยว แต่ธุรกิจเป็นธุรกิจที่สนับสนุนให้กิจกรรมทางการท่องเที่ยวดำเนินไปได้ด้วยดี


อุตสาหกรรมการท่องเที่ยว
หมายถึง ธุรกิจท่องเที่ยวขนาดใหญ่ที่ต้องอาศัยแรงงาน การลงทุน เทคนิควิชาชีพเฉพาะ มีการวางแผน การจัดองค์กร และการตลาด สินค้าในอุตสาหกรรมการท่องเที่ยวเป็นสินค้าที่เรียกว่า สินค้าที่จับต้องไม่ได้ และไม่มีการเคลื่อนที่ไปหาผู้ซื้อ แต่ผู้ซื้อหรือนักท่องเที่ยวต้องเดินทางไปซื้อสินค้าหรือบริการ ณ แหล่งผลิต ซึ่งก็หมายถึง สถานที่ที่มีทรัพยากรทางการท่องเที่ยว แต่สินค้าหรือบริการบางประเภทก็มีการสูญสลาย และเปลี่ยนแปลงกรรมสิทธิ์เช่นกัน

อุตสาหกรรมการท่องเที่ยวจะมีองค์ประกอบที่สำคัญ 2 ประการ ได้แก่
1.องค์ประกอบที่เกี่ยวข้องกันโดยตรงกับนักท่องเที่ยว
2.องค์ประกอบที่สนับสนุนกิจกรรมทางการท่องเที่ยว


องค์ประกอบที่เกี่ยวข้องโดยตรงกับนักท่องเที่ยว แบ่งออกเป็น
1.สิ่งดึงดูดใจทางการท่องเที่ยว
2.ธุรกิจการคมนาคมขนส่งทั้งทางบก ทางอากาศ และทางน้ำ
3.ธุรกิจที่พักแรม
4.ธุรกิจร้านอาหารและภัตตาคาร
5.ธุรกิจนำเที่ยวและมัคคุเทศก์


องค์ประกอบที่สนับสนุนกิจกรรมทางการท่องเที่ยว แบ่งออกเป็น
1.ธุรกิจการจำหน่ายสินค้าที่ระลึก
2.ธุรกิจการประชุม สัมมนา
3.การบริการข้อมูลข่าวสาร
4.การอำนวยความสะดวกทางด้านความปลอดภัย
5.การอำนวยความสะดวกในการเข้า-ออกเมือง




วันศุกร์ที่ 9 กรกฎาคม พ.ศ. 2553

395 ปี บันทึกของปินโต : หลักฐานประวัติศาสตร์นิพนธ์หรือนิยายผจญภัย

บันทึกความทรงจำของแฟร์เนา เมนเดซ ปินโต( Fernão Mendez Pinto ค.ศ.1509-1583)
เรื่อง “Pérégrinação”ถูกตีพิมพ์เผยแพร่ครั้งแรกในปีค.ศ.1614 ซึ่งมีเรื่องราวเกี่ยวกับ
สภภาพแวดล้อม ภูมิประเทศ ประวัติศาสตร์ วัฒนธรรม ขนบธรรมเนียม ประเพณี อีกทั้ง
ยังรวมถึงเหตุการณ์บ้านเมืองต่างๆ บันทึกของปินโตถูกอ้างอิงจากนักประวัติศาสตร์ไทย
อย่างกว้างขวาง จึงเป็นที่มาของการตรวจสอบว่าหนังสือฉบับนี้มีสถานะเป็นหลักฐาน
ประวัติศาสตร์นิพนธ์หรือเป็นเพียงนิยายผจญภัย


ปินโตเป็นชาวเมืองมองเตอมูร์เก่าใกล้เมืองกูอิงบรา ในราชอาณาจักรโปรตุเกส
ปินโตเกิดในครอบครัวยากจนระหว่างค.ศ. 1509-1512 การผจญภัยของปินโตเริ่ม
ขึ้นเมื่อเดินทางไปถึงเมืองดิว ปินโตเคยเผชิญปัญหาเรืออับปาง 5 ครั้ง ถูกขาย 16 ครั้ง
และถูกจับเป็นทาสถึง 13 ครั้ง ชีวิตในเอเชียของปินโตเคยผ่านการเป็นทั้งกลาสีเรือ
ทหาร พ่อค้า ทูตและนักสอนศาสนา ปินโตเขียนหนังสือชื่อ “Pérégrinação”ขึ้น
และถูกตีพิมพ์หลังจากเขาถึงแก่กรรมเมื่อวันที่ 8 กรกฎาคม ค.ศ. 1583 งานเขียน
ของปินโตตีพิมพ์ครั้งแรกเมื่อ ค.ศ.1614 และแปลเป็นภาษาต่างๆ อาทิ ภาษาฝรั่งเศส ภาษาอังกฤษ


ซึ่งงานเขียนของปินโตถูกนำเสนอในรูปของร้อยแก้ว และปินโตระบุว่าการเล่าเรื่อง
การเดินทางของเขามีจุดมุ่งหมายเพื่อให้มีการเรียนรู้สภาพภูมิศาสตร์ของโลก
ไม่ได้มีจุดประสงค์ที่จะก่อให้เกิดความท้อถอยในการติดต่อกับดินแดนแถบเอเชีย


บันทึกของปินโตนับเป็นเอกสารสำคัญที่กล่าวถึงเรื่องราวส่วนหนึ่งเกี่ยวกับ ทรัพยากร
การทหาร วัฒนธรรม ประเพณี ความเชื่อ กฎหมายและเรื่องราวในราชสำนักสยาม
ลางคริสต์ศตวรรษที่ 16 และมักจะถูกอ้างอิงเสมอเมื่อกล่าวถึงบทบาททางการทหาร
ของชุมชนโปรตุเกสในรัช สมัยสมเด็จพระไชยราชาธิราช


เมื่อเกิดศึกระหว่างสยามกับเชียงใหม่ขึ้นใน ค.ศ.1548 (พ.ศ.2091) ปินโต กล่าวว่า
“ชาวต่างประเทศทุกๆชาติที่ไปร่วมรบกับกษัตริย์สยามนั้นต่างก็ได้รับคำมั่นสัญญา
ว่าจะได้รับบำเหน็จรางวัล การยกย่อง ผลประโยชน์ ความชื่นชมและเกียรติยศชื่อเสียง
โดยเฉพาะอย่างยิ่งจะได้รับอนุญาตให้สร้างโบสถ์เพื่อการปฏิบัติศาสนกิจในแผ่น ดินสยามได้....”
การเข้าร่วมรบในกองทัพสยามครั้งนั้นเป็นการถูกเกณฑ์ หากไม่เข้าร่วมรบก็จะถูกขับออกไป
ภายใน 3 วัน ด้วยเหตุนี้จึงมีชาวโปรตุเกสอาสาเข้าร่วมรบในกองทัพสยาม

วันเสาร์ที่ 3 กรกฎาคม พ.ศ. 2553

ณ อยุธยา ตลาดน้ำอโยธยา

ตลาดน้ำอโยธยา

ตั้งอยู่ที่ 65/12 หมู่ 7 ตำบลไผ่ลิง อำเภอพระนครศรีอยุธยา

เป็นตลาดน้ำแห่งใหม่ของจังหวัดพระนครศรีอยุธยา อยู่ใกล้วัดช้างและวัดมเหยงค์


จ.พระนครศรีอยุธยา เป็นสถานที่ท่องเที่ยวเชิงอนุรักษ์ทางศิลปวัฒนธรรมไทย

ที่ใหญ่ที่สุดในจังหวัดพระนครศรีอยุธยามีวัตถุประสงค์เพื่อที่จะให้สถานที่

แห่งนี้เป็นสถานที่
ท่องเที่ยว และศึกษาเชิงอนุรักษ์ศิลปะวัฒนธรรมไทยตั้งแต่สมัยอยุธยา




ทั้งด้านการแต่งกายสถาปัตยกรรมที่งดงาม
และคงเอกลักษณ์

ขนบธรรมเนียมประเพณี การละเล่น และแสดงพื้นบ้าน ของกินของใช้ในยุคเก่า

วิถีชีวิตความเป็นอยู่อย่างไทยๆ ที่เรียบง่าย



เป็นจุดศูนย์รวมนักท่องเที่ยวชาวไทยและชาวต่างชาติที่จะได้เพลิดเพลินไปกับ

บรรยากาศ
และทัศนียภาพอันงดงามแบบไทยๆด้วยการเดินชมตลาดเพื่อ

ชิมอาหารรสชาดอร่อยๆ
เรียบคลองยาวหรือจะซื้อหาของกินของฝากบน

ร้านค้าที่ตั้งเรียงรายอยู่ในเรือนไทยอันงดงาม
รอบตลาดน้ำอโยธยาของเรา

ก็เพลิดเพลินไม่แพ้กัน พร้อมกันนี้ก็ยังมีเรือบริการรับส่งไปยังท่าเรือภายในตลาด

อีกด้วยเพื่อ
สะท้อนถึงวิถีการ เดินทางในสมัยก่อน





ประเภทร้านค้า ได้แก่

ร้านขายของเก่า เครื่องเงิน เครื่องประดับ งานเขียน ยาสมุนไพร

สินค้าที่ระลึก เครื่องจักสาน ซูวีเนีย สินค้า hand made ผ้าบาติก

งานไม้จากกะลา งานแจกัน สปา งานไม้ตกแต่งบ้าน ฯลฯ


ประเภทร้านอาหาร ได้แก่

กระเพาะ ปลา ผัดไทย ส้มตำทอด ข้าวแกง ขนมหวาน ขนมจีน ข้าวคลุก

ห่อหมก ก๋วยเตี๋ยว ซีฟูด ลูกชิ้น ทอดมัน โรตี หมูปิ้ง ก๋วยเตี๋ยว เครื่องดื่ม

น้ำสมุมไพร ไอศกรีม กาแฟสด และร้านขนมหวานอีกมากมาย


จุดเด่นอีกเรื่องหนึ่งที่ได้นำมารวบรวม ไว้ที่นี่ คือการนำชื่ออำเภอทั้งหมด

ของจังหวัดพระนครศรีอยุธยาทั้งหมด มาตั้งเป็นชื่ออาคาร สถานที่

เพื่อให้ผู้ที่มาเยือนได้รู้จักสินค้าของแต่ละอำเภอ และสามารถจดจำ

ชื่ออำเภอต่างๆของจังหวัดพระนครศรีอยุธยาได้เป็นอย่างดี


ปณิธานความตั้งใจเพื่อให้ตลาดน้ำอโยธยา เป็นสถานที่ท่องเที่ยวเชิงอนุรักษ์

ให้ผู้ที่มาเยือนได้ศึกษาเรียนรู้วิถีชีวิตความเป็นอยู่อย่างไทย เห็นคุณค่าของศิลปะ

และ วัฒนธรรมของไทยแผ่นดินอันอบอุ่นของไทยที่บรรพชนรุ่นก่อนได้ต่อสู้เพื่อ

ให้อนุชนรุ่นหลังได้มีที่อยู่ที่อาศัยและควรรักษาๆไว้ให้ดีอีกนาน


ความรู้สึกเมื่อได้ไปเที่ยวที่ตลาดน้ำอโยธยา

เป็นสถามที่ท่องเที่ยวที่ดีมาก มีทั้งของที่ระลึก อาหารมากมายอีกทั้งยังอร่อยแบบสุดๆ
โดยเฉพาะส้มตำปูปลาร้า ข้าวเหนียว หมูปิ้ง หอยกระทะร้อน อร้อยมากๆ
แม่ค้าพ่อค้าก็มีอัธยาศัยดีมาก อาจจะร้อนบ้างแต่ถ้าได้นั่งรับประทานอาหารข้างน้ำแล้ว
ก็ลืมความร้อนที่มีไปได้เลย เพราะไอน้ำที่ระเหยขึ้นมาจะทำให้เรารู้สึกเย็นสบาย
แบบธรรมชาติ ถ้ามีโอกาสอีกก็จะพาคุณแม่คุณแม่และน้องชายไปอีก

วันจันทร์ที่ 28 มิถุนายน พ.ศ. 2553

Introduce Myself*

Hello !!~ EVERYBODY
^___________^

* WELLCOME TO MY BLOG *

MY NAME'S TIPSUKON BOONRATTANAPON
>> YOU CAN CALL ME* APPLE ~

MY BIRTH DAY IS 13 NOV 1991
I'M COME FROM PHRAE

NOW I AM STUDYING IN DPU (AS)
MY ID NUMBER IS 530105030187